วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 5 E-Commerce

ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)
ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)
                คือกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การเครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร
                พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้ 
กรอบการทำงาน (E-Commerce Framework)



      การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)
  •       การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
  •       การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
  •    การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
  •     การบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service)
  •   รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
  •    การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่        
  •    (M-Commerce : Mobile Commerce)

โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)
องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
  1.           ระบบเครือข่าย (Network)
  2.             ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
  3.           การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
  4.            การรักษาความปลอดภัย (Security)
การจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์   The Dimensions of E-Commerce


Business Model of E-Commerce
Brick – and – Mortar Organization
                Old-economy organizations (corporations) that perform most of their business off-line ,selling physical product by means of physical agent.
Virtual Organization
                Organization that conduct their business activities solely online.
Click – and – Mortar Organization
                Organization that conduct some e-commerce activities , but do their primary business in the physical  world.

E-Commerce Business Model
แบบจำลองทางธุรกิจหมายถึง
                วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการ
                วิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ

ธุรกิจที่ใช้
E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity

                รูปแบบในการใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม productivity ที่มีประสิทธิผลมากที่สุดมักได้แก่ การบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management) และการให้บริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) ตัวอย่างของการบริหารซัพพลายเชนในกรณีศึกษาได้แก่ Dell (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล), Boeing (เครื่องบิน), TESCO (ของชำ), W.W.Grainger (สินค้า MRO), และ GMBuyPower (ยานยนต์) ระบบบริหารซัพพลายเชนดังกล่าวมักจะช่วยลดต้นทุนในการติดต่อกับซัพพลายเออร์ ลดต้นทุนการบริหารคลังสินค้า (Inventory) เนื่องจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ผลิตและซัพพลายเออร์จะช่วยให้สามารถคาดการยอดขายได้ดีขึ้น ตลอดจนลดเวลาในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า
ส่วนตัว อย่างของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่นำเสนอในการศึกษาได้แก่ CISCO(อุปกรณ์โทรคมนาคม) Southern Airlines (สายการบิน) Wells Fargo (ธนาคาร), GE Appliance (ศูนย์บริการลูกค้า), DaimlerChrysler (ยานยนต์), The Value System (เทคโนโลยีสารสนเทศ) และ Cement Thai Online (อุปกรณ์ก่อสร้าง) ระบบบริการลูกค้าสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถให้บริการลูกค้าโดยมีต้นทุนที่ลดลงจากการลดพนักงาน หรือสำนักงานทางกายภาพ ในขณะที่สามารถเพิ่มหรือรักษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าได้การเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจจากการนำเอาระบบ E-Commerce มาใช้ในทั้งสองลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจจาก E-Commerce จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากธุรกิจไม่มีระบบภายใน (Back Office) ที่พร้อม ซึ่งถือเป็นปัจจัยในความสำเร็จที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง

ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce
ข้อดี
1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ

ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
 
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น