วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 4 E-business strategy

ความหมายของ E-Strategy
       วิธีการที่จะทำให้กลยุทธ์ขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยการนำการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้งาน ทั้งการสื่อสารภายในองค์กร และ การสื่อสารภายนอกองค์กร

Business Strategy
                คือ กลยุทธ์ที่จะเชื่อมให้ แบบจำลองทางธุรกิจ เป็นจริงได้ ทำยังไงให้ การสร้าง มูลค่า นั้นเป็นจริงได้ แล้วทำยังไงที่จะส่ง มูลค่า นั้นให้กับลูกค้าได้ดีที่สุด และทำยังไงให้มันแตกต่าง การทำธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างธุรกิจออนไลน์ แต่เป็นการสร้างธุรกิจที่มีความแตกต่าง อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้จะพูดถึงตัวแบบขั้นตอนกลยุทธ์หลักในการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง 4 ขั้นตอนดังนี้
Strategic evaluation : กลยุทธ์การประเมิน
Strategic objectives : กลยุทธ์การวางแผนวัตถุประสงค์
Strategy definition : กลยุทธ์การกำหนดนิยาม
Strategy implementation : กลยุทธ์การดำเนินงาน

กลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business Strategies)
             กลยุทธ์ เป็นตัวกำหนดทิศทางและการดำเนินงาน ด้านต่างๆ ขององค์กร กลยุทธ์เป็นเสมือนกับเหตุผลและความมุ่งหมายขององค์กร ไม่เพียงแต่กลยุทธ์เท่านั้นที่สำคัญ แต่การวางแผนและการลงมือจำเป็นไม่แพ้กัน สรุปปัจจัยสำคัญของกลยุทธ์ที่สามารถนำมาใช้ได้ซึ่งก็คือ              
  •         ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในตลาดขณะนี้หรือไม่ 
  •         กำหนดนิยามว่าจะไปถึงวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างไร
  •          กำหนดการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
  •            เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อที่จะได้เปรียบคู่ค้าในตลาด
  •          จัดหาแผนงานระยะยาวเพื่อพัฒนาองค์กร


            องค์ประกอบที่สำคัญของกลยุทธ์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ คือ การสร้างช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ให้กับองค์กร กลยุทธ์ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยในการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนหรือเหมาะสม หากปราศจากการกำหนดเป้าหมาย การดำเนินงานจะเป็นไปอย่างเชื่องช้าและติดขัด จำเป็นที่จะต้องกำหนดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าจะถูกไปใช้ร่วมกันกับช่องทาง อื่นๆได้อย่างไร สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ กลยุทธ์อิเล็กทรอนิกส์จะต้องทำให้องค์กรมั่นใจว่าจะได้รับความพึงพอใจจากภายในและเกิดผลประโยชน์จากการนำเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มาใช้

Strategy process models for e-business














วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 5 E-Commerce

ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)
ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)
                คือกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การเครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร
                พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้ 
กรอบการทำงาน (E-Commerce Framework)



      การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)
  •       การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
  •       การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
  •    การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
  •     การบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service)
  •   รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
  •    การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่        
  •    (M-Commerce : Mobile Commerce)

โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)
องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
  1.           ระบบเครือข่าย (Network)
  2.             ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
  3.           การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
  4.            การรักษาความปลอดภัย (Security)
การจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์   The Dimensions of E-Commerce


Business Model of E-Commerce
Brick – and – Mortar Organization
                Old-economy organizations (corporations) that perform most of their business off-line ,selling physical product by means of physical agent.
Virtual Organization
                Organization that conduct their business activities solely online.
Click – and – Mortar Organization
                Organization that conduct some e-commerce activities , but do their primary business in the physical  world.

E-Commerce Business Model
แบบจำลองทางธุรกิจหมายถึง
                วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการ
                วิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ

ธุรกิจที่ใช้
E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity

                รูปแบบในการใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม productivity ที่มีประสิทธิผลมากที่สุดมักได้แก่ การบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management) และการให้บริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) ตัวอย่างของการบริหารซัพพลายเชนในกรณีศึกษาได้แก่ Dell (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล), Boeing (เครื่องบิน), TESCO (ของชำ), W.W.Grainger (สินค้า MRO), และ GMBuyPower (ยานยนต์) ระบบบริหารซัพพลายเชนดังกล่าวมักจะช่วยลดต้นทุนในการติดต่อกับซัพพลายเออร์ ลดต้นทุนการบริหารคลังสินค้า (Inventory) เนื่องจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ผลิตและซัพพลายเออร์จะช่วยให้สามารถคาดการยอดขายได้ดีขึ้น ตลอดจนลดเวลาในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า
ส่วนตัว อย่างของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่นำเสนอในการศึกษาได้แก่ CISCO(อุปกรณ์โทรคมนาคม) Southern Airlines (สายการบิน) Wells Fargo (ธนาคาร), GE Appliance (ศูนย์บริการลูกค้า), DaimlerChrysler (ยานยนต์), The Value System (เทคโนโลยีสารสนเทศ) และ Cement Thai Online (อุปกรณ์ก่อสร้าง) ระบบบริการลูกค้าสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถให้บริการลูกค้าโดยมีต้นทุนที่ลดลงจากการลดพนักงาน หรือสำนักงานทางกายภาพ ในขณะที่สามารถเพิ่มหรือรักษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าได้การเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจจากการนำเอาระบบ E-Commerce มาใช้ในทั้งสองลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจจาก E-Commerce จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากธุรกิจไม่มีระบบภายใน (Back Office) ที่พร้อม ซึ่งถือเป็นปัจจัยในความสำเร็จที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง

ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce
ข้อดี
1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ

ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
 
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน 

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บทที่ 3 E- Environment

Business Environment

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่
  • สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ Internal Environment คือสภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกำหนด และ ควบคุมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ ในการนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน
  • สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ External Environment ภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยกลุ่มนี้ หมายถึง ปัจจัยยังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด ถือว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้แต่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด คือสร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค
สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับจุลภาค  (Micro External Environment)  
           คือ ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถ ควบคุมได้ แต่สามารถเลือก ที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
  1. ตลาด หรือลูกค้า (Market) 
  2. ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ (Suppliers)
  3. คนกลางทางการตลาด (Marketing Intermediaries)
  4. สาธารณชนและกลุ่มผลประโยชน์ (Publics)  
สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับมหภาค  (Macro External Environment)
            คือ สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์กรธุรกิจไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แบ่งออกได้เป็น 4 ประการ ได้แก่
  1. ด้านการเมืองและกฎหมาย
  2. เศรษฐกิจ
  3. สังคม
  4. เทคโนโลยี
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ


การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix

E-environment

Social Factor
                สภาวะแวดล้อมทางสังคมเป็น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอย่างมาก เนื่องจากโครงสร้างทางสังคมประกอบไปด้วย ครอบครัว ชุมชน ไปจนถึงระดับประเทศ ซึ่งในแต่ละสังคมก็จะมีทัศนคติทางสังคม ค่านิยม และวัฒนธรรม ที่ แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับการเปลี่ยน แปลงทางด้านประชากร บทบาทหรือสถาน ภาพของบุคคล และระดับชนชั้นทางสังคม ภูมิศาสตร์หรือกายภาพรอบๆ ธุรกิจ สภาพ ของดิน น้ำ แร่ธาตุ หรืออากาศ เช่น ภาวะโลก ร้อน ภัยธรรมชาติคลื่นยักษ์    สึนามิ (Tsunami) โรคระบาด ซึ่งธุรกิจไทยและทั่วโลกเคยเผชิญมาแล้ว คือ โรคไข้หวัดนก ในปี พ.ศ.2550 ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจอุตสาหกรรมสัตว์ปีกและการท่องเที่ยว สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A : H1N1) โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2552) คาดว่าเชื้อไวรัสนี้จะยังคงแพร่ระบาดรุนแรงต่อไปตลอดช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ และมีโอกาสที่จะคงอยู่ยาวนานไปจนถึงไตรมาสสุดท้ายของปี พ.ศ.2552 หากมาตรการของรัฐยังไม่สามารถหยุดยั้งการระบาดของโรคให้ชะลอลงได้

Political and Legal Factor
                สภาวะแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายประกอบธุรกิจของประเทศ โดย เฉพาะประเทศไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแบบผสมผสานพรรคบ่อยๆ นักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจะอ่อนไหวกับปัจจัยทาง การเมือง เพราะเกี่ยวข้องกับกฎหมายและมาตรการต่างๆ เช่น มาตรการส่งเสริมการลงทุน กฎ ระเบียบที่ใช้สำหรับการค้าระหว่างประเทศ จากการสำรวจความคิดเห็นของนักธุรกิจ 400 ตัวอย่าง ในประเด็นผลกระทบต่อการทำธุรกิจ พบว่านักธุรกิจร้อยละ 17.10 มองว่าความขัดแย้งทางการเมืองเป็นปัจจัยที่ส่งผลลบเป็นอันดับแรกต่อการดำเนินธุรกิจ (เดลินิวส์, 2552) ข้อกังวลในสายตาของนักลงทุน คือ กฎ ระเบียบ นโยบายในการลงทุน มักจะเปลี่ยนแปลงตามรัฐบาลในสมัยนั้นๆ ถ้าการดำเนินธุรกิจขัดต่อกฎหมาย ธุรกิจย่อมจะมีปัญหาในการดำเนินงาน (สมชาย, 2552)

Technological Factor
                สภาวะแวดล้อมทางเทคโนโลยี ปัจจุบันเป็นยุคความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางและความก้าวหน้าขององค์กรธุรกิจ เช่น การใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การใช้ชุดคำสั่ง (Software) เพื่อช่วยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดระบบบัญชีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การนำเทคโนโลยี เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้แทนแรงงานของคน ส่งผลให้องค์กรต้องลดจำนวนพนักงานลงและต้องเพิ่มประสิทธิภาพพนักงานที่เหลือ มาตรการเหล่านี้จะส่งผลกระทบไปถึงสถานที่ ห้องทำงาน ลักษณะงาน ค่าจ้าง และสวัสดิการต่างๆ


วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บทที่ 2 E-business infrastructure (ต่อ)

Folksonomy      
โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ ค้นหาในเนื้อความ  (Text Search) เรียงเนื้อหาตามลำดับเวลา  (Chronological) แยกตามกลุ่มประเภท  (Category, Classification)
ค้นหาในเนื้อความ (Text Search)
ตัวอย่างเช่น Google ที่ก่อตั้งโดย Sergery Brin และ Larry Page ได้ออกแบบเพื่อจัดอันดับความสำคัญของเว็บโดยคำนวณจากการนับ Link จากเว็บอื่นที่ชี้มาที่เว็บหนึ่ง ๆ  เป็นที่น่าติดตามว่าจะมีเทคนิควิธีในการค้นหาข้อมูลใหม่ ๆ 

เรียงเนื้อหาตามลำดับเวลา (Chronological)  เนื้อหาข้อมูลจะถูกจัดเก็บเรียงลำดับเวลาโดยแสดงตามเวลาใหม่ล่าสุดก่อน  เช่น เว็บไซต์ประเภทข่าว อย่าง CNN, BBC และ       google news เนื้อหาเก่าจะตกไปอยู่ด้านล่าง  Blog ก็ใช้วิธีจัดเรียงตามเวลาเช่นกัน  ทั้งนี้หากต้องการอ่านเนื้อหาเก่าก็สามารถคลิกดูที่ปฏิทินได้
แยกตามกลุ่มประเภท (Category, Classification)  การจัดระเบียบแบบนี้ยึดเอาหัวข้อเป็นหลัก แล้วแยกประเภทออกไป เช่น แบ่งหนังสือเป็นประเภทธุรกิจ, หนังสือเด็ก, นวนิยาย, คอมพิวเตอร์, ศาสนา, วิทยาศาสตร์ ฯลฯ ลักษณะอื่น ๆ จะช่วยให้ค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น 
ปัญหาที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต มีดังต่อไปนี้
  • เนื้อหามีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรายวัน
  • การค้นหาข้อมูลที่ตรงตามความต้องการมากที่สุดทำได้ยาก เนื่องจากเนื้อหาที่มีจำนวนมาก
  • การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านที่ขึ้นกับความสนใจของผู้ทำการค้นไม่ตรงจุด
  • ข้อมูลที่พบอาจจะขาดความน่าเชื่อถือ

กำเนิดปัจเจกวิธาน
Joshua Schachter เริ่มรวบรวมเก็บเว็บต่าง ๆ เป็น Bookmark ของตนเองคนเดียวไว้มากและใช้ Keyword เพื่อจัดกลุ่มแทน  เช่น “search engine tools” และ “password security tools” เมื่อต้องการเรียกเว็บที่มีคำว่า tools ก็จะสามารถดึงรายชื่อเว็บทั้งหมดออกมาได้ทันทีปัจเจกวิธาน เรียก keyword นี้ว่า tag เป็นคำสัก 2 - 7 คำที่เกี่ยวกับเว็บใหม่ที่สามารถจัดเป็นกลุ่มเว็บได้
  • คำว่า Folksonomy นี้ มีที่มาจากการที่ ใครก็ได้ทุก ๆ คน (Folk) มีสิทธิในการจัดทำอนุกรมวิธาน (Taxonomy) หรือ จัดกลุ่มประเภทหมวดหมู่ของเอกสารในโลกอินเทอร์เน็ตให้อยู่ในแบบที่ตนเข้าใจ
  • ต่างจากการทำ Taxonomy เช่น การจัดประเภทสัตว์หรือพืช ที่อาศัย ผู้รู้ เป็นผู้ดำเนินการและให้ผู้อื่นจัดว่าอะไรควรจะอยู่ประเภทไหนตามที่ผู้รู้นั้นได้กำหนดไว้แล้ว

คุณลักษณะพิเศษ ที่ได้จากปัจเจกวิธาน
กระแสการติดตามเว็บใหม่ ๆ ตามชื่อ Tag (Stream and Feed)
การเห็นกลุ่ม Tag ก่อตัวกันมองคล้ายกลุ่มเมฆ ตามหัวเรื่องที่สนใจ (Tag Cloud)
การให้คะแนนความนิยม (Rating and Popularity)
การท่องอินเทอร์เน็ตอย่างที่มีเนื้อหาข้อมูลข้ามสายกัน (Cross-Navigation)

Networking standards
               ในส่วนนี้จะกล่าวถึง Internet Standard เป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องกับทุกๆ protocol & procedure และระเบียบแบบแผนต่างๆ ที่ใช้ในระบบอินเตอร์เน็ต ไม่จำเป็นว่ามันจะเป็นส่วนหนึ่งของ TCP/IP protocol หรือไม่ ในกรณีของหลายๆ protocol จะถูกพัฒนาและทำให้เป็นมาตราฐานด้วยองค์กรที่ไม่ใช่เป็นองค์กรของอินเตอร์เน็ต (non-Internet organizations) แต่อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว the Internet Standards Process ก็จะถูกทำให้เป็น application ของ โปรโตคอลและ procedure ของ Internet context ไม่ใช่ว่าเพื่อระบุให้โปรโตคอลของมันเอง

TCP/IP
  • ข้อตกลงในการควบคุมการรับส่งข้อมูล และ internet หรือ protocol ของระบบ internet Transmission Control Protocol/Internet Protocol
  • โปรโตคอล TCP/IP เป็นชื่อเรียกของชุดโปรโตคอลที่สำคัญ มีการใช้งานกันอย่าง แพร่หลายตามการขยายตัวของอินเตอร์เน็ต/อินทราเน็ต ความจริงแล้วโปรโตคอลTCP/IP เป็นกลุ่มของโปรโตคอลหลายตัว ที่ประกอบกันเป็นชุดให้ใช้งาน โดยมีคำเต็มว่า Transmission Control Protocol/Internet Protocol ซึ่งจากชื่อเต็มทำให้ เราเห็นว่าอย่างน้อยก็มีโปรโตคอลประกอบกันทำงานร่วมกัน 2 โปรโตคอลคือ TCP และ IP

The HTTP protocol
            HTTP เป็น network protocol ที่ใช้หลักการของ client-server model ในการติดต่อสื่อสารซึ่งหลักการทำงานอย่างคร่าว ๆ มีดังนี้
            1. HTTP Client จะทำการสร้างคอนเนคชั่นไปหา HTTP Server ซึ่งโดยทั่วไปจะผ่านทาง socket ของ TCP/IP
            2. หลังจากนั้น HTTP Client จะทำการส่งคำสั่ง (request) ซึ่งอยู่ในรูปของ message ไปให้ HTTP Server เพื่อทวงถามถึง resource ที่ต้องการ
            3. HTTP Server จะทำการตีความคำสั่งที่ได้และส่งผล (response) ซึ่งเป็น resource ที่ HTTP Client ต้องการกลับมา (ผลที่ส่งกลับมาจะเป็นลักษณะของ message คล้ายกับ requet ของ HTTP Client ที่ส่งมาให้ HTTP Server)
            4. หลังจากที่การส่ง response เสร็จสิ้น, HTTP Server จะทำการปิดคอนเนคชั่นที่มาจาก HTTP Client
            5. ในกรณีที่ HTTP Client ต้องการ resource อื่น ๆ, HTTP Client จะต้องทำการสร้างคอนเนคชั่นใหม่และส่งคำสั่งไปหา HTTP Server อีกครั้ง
จากหลักการข้างต้นจะเห็นว่าการติดต่อสื่อสารระหว่าง Client และ Server จะเป็นลักษณะครั้งต่อครั้ง ในทาง network เราเรียกการติดต่อสื่อสารแบบนี้ว่า Stateless Protocol

Domain names
            คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่สามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ ชื่อเว็บไซต์คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือ ประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อโดเมน (Domain Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป


ข้อควรรู้ก่อนจดโดเมน
  • ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
  • Domain ต้องจดในชื่อของเราเท่านั้น Domain Ownership
  • ถ้าเป็น Domain ของบริษัท พยายามจดภายใต้ชื่อบริษัท อย่าจดด้วยชื่อพนักงาน IT
  • ข้อมูลที่สำคัญที่สุดของ Domain คือ Owner Detail
  • ใช้อีเมล์ที่จะอยู่กับเราตลอดไปในการจดโดเมน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ใช้ติดต่อกับเราเรียกว่า Registrant E-mail
  • บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ Domain ของเราไว้ให้ดี วันหมดอายุ ผู้ติดต่อ และอื่น ๆ





วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บทที่ 2 E-business infrastructure

          E-business infrastructure  หมายถึง  การรวมกันของฮาร์ดแวร์เช่น Server, Client PC ในองค์กรรวมถึงการใช้เครือข่ายในการเชื่อมโยงฮาร์ดแวร์เหล่านี้และการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการส่งมอบบริการให้กับผู้ใช้งานที่อยู่ในบริษัทและยังรวมถึงคู่ค้าและลูกค้าของตน ซึ่งคำว่า Infrastructure ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมทางด้าน Hardware , Software และ เครือข่าย ที่มีอยู่ในบริษัทด้วย  และท้ายที่สุด ยังรวมไปถึง กระบวนการในการนำเข้าข้อมูลและเอกสารเข้าสู่ระบบ E-business ด้วย

ส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐาน
 E-business infrastructure components


          Internet technology  Internet ช่วยให้การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องที่เชื่อมต่อทั่วโลก แต่ในการถ่ายโอนข้อมูลนั้นไร้รอยต่อของวิธีการเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น  การร้องขอข้อมูลจะถูกส่งจากคอมพิวเตอร์ไคลเอนต์และอุปกรณ์มือถือที่มีผู้ใช้ร้องขอการบริการให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจและโฮสต์ที่ส่งมอบการบริการในการตอบสนองต่อการร้องขอ ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงเป็นระบบเขนาดใหญ่ในรูปแบบ Client / Server
          Intranet applications   อินทราเน็ตถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อรองรับการขายในด้านธุรกิจ e - commerce โดยเน้นทำงานจากฝ่ายการตลาดเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลักของ supply-chain management โดยการตลาดเครือข่ายอินทราเน็ตมีข้อได้เปรียบต่อดังนี้
  • Reduced product lifecycles – as information on product development and marketing campaigns is rationalized we can get products to market faster.
  • Reduced costs through higher productivity, and savings on hard copy.
  • Better customer service – responsive and personalized support with staff accessing customers over the web.
  • Distribution of information through remote offices nationally or globally.
Web technology
          คำว่า  World Wide Web,  หรือเรียกสั้นๆว่า ‘web’ คือขั้นตอนมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูล  ข้อมูลสาธารณะบนโลกอินเทอร์เน็ต โดยรูปแบบเอกสารพื้นฐานคือ HTML (Hypertext Markup Languageหรือ  การบริการหนึ่งในรูปแบบต่างๆของการให้บริการของอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้พัฒนาเว็บ หรือผู้ที่ต้องการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านเว็บ หรือ อินเตอร์เน็ต แล้วจะต้องรู้และเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับโปรโตคอล (Protocal) - มาตรฐานในการรับส่งข้อมูล

Internet-access software applications


 Evolution Web 1.0, Web 2.0 to Web 3.0


Web 1.0 = Read Only, Static Data with simple markup
          Web 1.0 ผู้เข้าชมสามารถอ่านได้อย่างเดียว ( Read-only ) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถที่สามารถแก้ไขข้อมูล หน้าตาของเว็บไซต์ได้เฉพาะผู้ดูแลเว็บไซต์ ( Web master )เป็นเว็บที่ผู้เข้าเยี่ยมชมไม่สามารถมีส่วนร่วมกับเว็บดังกล่าวได้ ถือว่าเป็นเว็บรุ่นแรกของเทคโนโลยีเว็บไซต์ ส่วนมากจะใช้ภาษา html (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษาสำหรับการพัฒนา Web 1.0 นั้นเป็นเรื่องของการที่ผู้ให้บริการนำเสนอข้อมูลให้กับบุคคลทั่วไป โดยทำในลักษณะเดียวกับหนังสือทั่วไป ที่ผู้อ่านมีส่วนร่วมน้อยมากในการเติมแต่งข้อมูล ต่อมาเริ่มมีการนำเอา Java Script และภาษา PHP (Hyper Text preprocessor) มาใช้งาน
Web 2.0 = Read/Write, Dynamic Data through Web Services
          Web 2.0 คือ ผู้เข้าชมสามารถอ่านและเขียนได้ ( Read-Write ) เป็นเทคโนโเว็บไซต์ที่พัฒนาต่อจาก web 1.0 เป็นเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ เช่น เว็บบอร์ด เว็บบล็อก วิพีเดีย เป็นต้น ซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลมาเกี่ยวข้อกับเทคโนโลยีนี้ด้วย บุคคลทั่วไปคือผู้สร้างเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ จาก Web 2.0 ในเปลือกนัท ทำให้เราเข้าใจว่าในยุคที่ 2 นั้นเป็นเรื่องของการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง โดยการสร้างเสริมข้อมูลสารสนเทศ ให้มีคุณค่าและมีข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด ดังตัวอย่างที่เป็นสิ่งที่ทุกคนคงรู้จักกันดีอย่าง Wikipedia ทำให้ความรู้ถูกต่อยอดไปอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลทุกอย่างได้มาจากการเติมแต่งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เกิดจากการคานอำนาจของข้อมูลของแต่ละบุคคลทำให้ข้อมูลนั้นถูกต้องมากที่สุด และจะถูกมากขึ้นเมื่อเรื่องนั้นถูกขัดเกลามาตามระยะเวลายาวนาน
Web 3.0 = Read/Write/Relate, Data with structured Metadata + managed identity
          Web 3.0 เป็นการนำแนวคิดของ Web 2.0 มาทำให้ Web นั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Metadata ที่หมายถึงข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data about data) ทำให้เว็บกลายเป็น Semantic Web คือ ตัว Web จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น แล้วให้ Tags ตามความเหมาะสมให้เราแทน โดยข้อมูลแต่ละ Tag จะมีความสัมพันธ์กับอีก Tag หนึ่งโดยปริยาย ทำให้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นฐานข้อมูล ความรู้ขนาดใหญ่ ที่ข้อมูลทุกอย่างถูกเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบมากขึ้น  Web 3.0 จะพัฒนาไปในลักษณะ Segment of One คือ Segment ที่มีบุคคลแค่คนเดียว หรือ ตอบโจทย์ความเป็นส่วนบุคคล เช่น อยากไปเที่ยวภูเขาไฟฟูจิ เมื่อค้นข้อมูลแล้วเว็บไซต์จะ เชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดออกมา ไม่ว่าจะจากสายการบินต่างๆ แพ็กเกจไหนดีที่สุด และนำมาเช็ค กับตารางของผู้ใช้ว่าตารางเวลาตรงกันไหม หรือจะนำไปเช็คกับตารางของเพื่อนที่ญี่ปุ่นใน Social Network เพื่อนัดเวลาที่ตรงกันเพื่อพบปะทานข้าวร่วมกันก็ได้  ในยุคสื่อดิจิตอล

เว็บ 3.0 ที่ได้รับการพัฒนา จะประกอบด้วย
1. AI (Artificial Intelligence)
2. semantic web
3. Automated reasoning
4. semantic wiki
5. ontology language หรือ OWL

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประเพณียี่เป็ง


           วันพฤหัสบดีก่อนจะไปเที่ยวงานประเพณียี่เป็งแถวสะพานนวรัฐได้แวะถ่ายรูปแถวประตูช้างเผือกได้เก็บภาพเกี่ยวกับโคมลอยคล้าย ๆ เหมือนเจดีย์สี่สันโคมลอยสวยงามแถมยังมีเครื่องบิน Air Asia ที่สวยงามที่ทำด้วยกระดาษสีขาวแดง

         
           จากนั้นได้เดินทางไปที่งานประเพณียี่เป็งแถวสะพานนวรัฐต่อมีผู้คนมากมายมาเที่ยวในงานนี้กว่าจะเดินเข้าไปลึก ๆ ได้ยากมากเพราะว่าผู้คนมาเที่ยวมากเหลือเกิน
         

          เดินไปเรื่อย ๆ ดูสะพานแล้วเห็นไฟแถวสะพานสวยมาก และยังมีชาวต่างชาติปล่อยโคมลอยสีแดงเป็นรูปหัวใจสวยมาก ๆ แล้วยังมีผู้คนต่างไปลอยกระทงมากมาย


          จากนั้นได้แวะไปหาเพื่อนของเพื่อนที่ทำกระทงขายแถวสะพาน จึงช่วยเพื่อนทำกระทงขาย "ที่ไปแวะทำกระทงไม่อะไำรหรอกแ่ค่ไปยุ่งเค้าเท่านั้นเอง"  พอดึก ๆ แล้วก็ซื้อกระทงของเพื่อนเอาไปลอยกระทงแล้วก็กลับบ้าน


          พอเดินกลับออกจากงานพอดีบังเอิญไปเห็นกระทงพญานาคมีไฟออกจากปากของพญานาคทำเหมือนพญานาคมาก ๆ สีสันสวยงามมีคนมากมายถ่ายรูปกระทงพญานาค  จากนั้นก็เดินออกจากงานแล้วก็กลับบ้าน

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บทที่ 1 Introduction to E-Business and E-Commerce

E-Business คือ การดำเนินกิจกรรมทาง ธุรกิจต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ
BI=Business Intelligence:  การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด ข้อมูลลูกค้า และ คู่แข่งขัน
EC=E-Commerce:  เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต
CRM=Customer Relationship Management:  การบริหารจัดการ การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า บริการ และ บริษัท ระบบ CRM จะใช้ไอทีช่วยดำเนินงาน และ จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า
SCM=Supply Chain Management:  การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค
ERP=Enterprise Resource Planning:  กระบวนการของสำนักงานส่วนหลัง และ การผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อการจัดซื้อ การจัดการใบส่งของการจัดสินค้าคงคลัง แผนและการจัดการการผลิตระบบ ERP จะช่วยให้ประบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุ

E-Commerce คือ  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น

E-Business VS E-Commerce
         คนส่วนใหญ่มักคิดและเข้าใจว่า E-Businessและ E-Commerce เป็นสิ่งเดียวกันซึ่งไม่ถูกต้อง ทีเดียวนัก E-Business เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ ซึ่งผู้บริหารต้องจับตามองแลัให้ความสนใจ เพราะE-Business เป็นกระบวนการดำเนินการทางธุรกิจผ่านระบบเครือข่าย ซึ่งรวมระบบการจัดการต่างๆ เช่น กระบวนการผลิต การตลาด การจัดจำหน่ายและยังรวมถึงการบริหารงานด้วย ดังนั้น E-Business จึงเป็นมากกว่าการซื้อขายบนเครือข่ายแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนการต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจที่เคยเป็นมาในอดีต ในขณะที่ E-Commerce เป็นกระบวนการการทำธุรกรรมผ่านเครือข่าย เช่น การซื้อขาย การแลกเปลี่ยนข้อมูล การถ่ายโอนเงิน ดังนั้นE-Commerce จึงนับว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ E-Business เท่านั้น